วิทยาลัยเทคโนโลยีพระรามหก ตั้งอยู่เลขที่ ๖๘๖ ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ๑๐๗๐๐ มีชื่อเดิม คือ โรงเรียนพระรามหกเทคโนโลยี ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อ เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๔ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) กระทรวงศึกษาธิการ จัดการศึกษาประเภทวิชาอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ดำเนินการสอน ๕ สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาพณิชยการ สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ โดยประวัติการก่อตั้งมีดังนี้
– พ.ศ. ๒๕๑๖ ก่อตั้งโรงเรียนช่างกลพระรามหก
– พ.ศ. ๒๕๒๒ นายพรเลิศ แสงกวีเลิศ ได้รับกิจการต่อจากเจ้าของเดิมมาดำเนินการ
– พ.ศ. ๒๕๒๔ กระทรวงศึกษาธิการอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนช่างกลพระรามหก เป็นโรงเรียนเทคโนโลยีพระรามหก
– พ.ศ. ๒๕๒๖ อาคารโรงเรียนพระรามหกเทคโนโลยี ได้ถูกสร้างขึ้นห่างจากโรงเรียนเทคโนโลยีพระรามหก ประมาณ ๕๐๐ เมตร บนเนื้อที่ ๕ ไร่ ๑๔๒ ตารางวา
– พ.ศ. ๒๕๒๗ โรงเรียนพระรามหกเทคโนโลยี จัดการเรียนการสอน ประเภทวิชาอุตสาหกรรมระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพสูง (ปวส.) ใน ๒ สาขาวิชา คือ สาขาวิชาช่างยนต์ และสาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง
– พ.ศ. ๒๕๒๙ โรงเรียนพระรามหกเทคโนโลยี ได้เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) อีก ๑ สาขาวิชา คือ สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์
– พ.ศ. ๒๕๓๐ สร้างอาคารเรียนหลังใหม่อีก ๑ หลัง ที่โรงเรียนพระรามหกเทคโนโลยีเป็นอาคารเรียน ๕ ชั้นโดยเชื่อมต่อกับอาคาร ๕ ชั้นเดิมให้เป็นอาคารรูปตัวแอล (L)
– พ.ศ. ๒๕๓๒ รับโอนนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกชั้นปี และกิจการทั้งหมดของโรงเรียนเทคโนโลยีพระรามหก ซึ่งปิดกิจการมาเป็นของโรงเรียนพระรามหกเทคโนโลยี
– พ.ศ. ๒๕๓๘ ขยายพื้นที่บริเวณด้านข้างติดโรงเรียนและบริเวณด้านหน้าติดถนนจรัญสนิทวงศ์จำนวน ๑ ไร่ ๓๔ ตารางวา เพื่อใช้เป็นลานจอดรถและสถานที่พักผ่อนของผู้เรียน เพื่อสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนการสอนของโรงเรียน
– พ.ศ. ๒๕๔๙ โรงเรียนพระรามหกเทคโนโลยี ได้รับอนุญาตจากกรุงเทพมหานคร สร้างอาคาร ๗ ชั้น เป็นอาคารอเนกประสงค์ เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๔๙ และโรงเรียนพระรามหกเทคโนโลยีได้ยื่นเรื่องขอขยายสาขาวิชา เพิ่มจากเดิม ๓ สาขาวิชา เป็น ๔ สาขาวิชา คือ สาขาวิชา เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ เพื่อเปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ในปีการศึกษา ๒๕๕๐
– พ.ศ. ๒๕๕๐ โรงเรียนพระรามหกเทคโนโลยี ได้เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)เพิ่มอีก ๑ สาขาวิชา คือสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ และโรงเรียนพระรามหกเทคโนโลยี ได้ยื่นเรื่องขออนุญาตเพิ่มหลักสูตร ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรมสาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ และประเภทวิชาพาณิชยกรรม สาขาวิชาพณิชยการ สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขางานพัฒนาเว็บเพจ รวม ๓ สาขางาน เพื่อรองรับการเรียนการสอน ปีการศึกษา ๒๕๕๑
– พ.ศ. ๒๕๕๑ โรงเรียนพระรามหกเทคโนโลยี ได้เปิดสอนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เพิ่มอีก ๑ สาขางาน คือ สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ และประเภทวิชาพาณิชยกรรม สาขาวิชาพณิชยการสาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เปิดสอนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขางานพัฒนาเว็บเพจ
– พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้รับอนุญาตให้โรงเรียนพระรามหกเทคโนโลยีและโรงเรียนเทคนิคพระรามหกรวมกิจการโรงเรียนเข้าด้วยกัน โดยให้โรงเรียนพระรามหกเทคโนโลยีรับโรงเรียนเทคนิคพระรามหกเข้ารวมกิจการ ตั้งแต่ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ใบอนุญาตเลขที่ กอ. ๓๙๐/๒๕๕๒ สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
– พ.ศ. ๒๕๕๓ โรงเรียนพระรามหกเทคโนโลยี ขออนุญาตเพิ่มหลักสูตร ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาเครื่องกล สาขางานยานยนต์ ระบบทวิภาคี และหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเครื่องกล สาขางานเทคนิคยานยนต์ ระบบทวิภาคี กับสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาอนุญาตให้เพิ่มหลักสูตร ในปีการศึกษา ๒๕๕๔
– พ.ศ. ๒๕๕๔ โรงเรียนพระรามหกเทคโนโลยีได้รับอนุญาตเปลี่ยนแปลงรายการในตราสารจัดตั้งโรงเรียน ดังนี้ หมวด ๑ บททั่วไป จากเดิม “ข้อ ๑ โรงเรียนนี้มีชื่อว่า โรงเรียนพระรามหกเทคโนโลยี” เปลี่ยนเป็น “ข้อ ๑ โรงเรียนนี้มีชื่อว่า วิทยาลัยเทคโนโลยีพระรามหก” ตามใบอนุญาตเลขที่ กอ. ๗๒๒/๒๕๕๔ สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ตั้งแต่วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๔
– พ.ศ. ๒๕๕๕ วิทยาลัยเทคโนโลยีพระรามหก ได้ยื่นคำขอรับอนุญาตเป็นผู้ดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ และใช้ชื่อศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน วิทยาลัยเทคโนโลยีพระรามหก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อนุญาตให้ดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติสาขาอาชีพ ได้แก่
(๑) สาขาอาชีพช่างซ่อมรถยนต์ ระดับ ๑ (๒) สาขาอาชีพช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ ๑ (๓) สาขาอาชีพช่างโทรคมนาคม (ไมโครเวฟและการสื่อสารดาวเทียม) ระดับ ๑ (๔) สาขาอาชีพพนักงานการใช้คอมพิวเตอร์ (กราฟิก) ระดับ ๑ ตามหนังสือเลขที่ รง ๐๔๐๔/๐๐๖๔๒ ประกาศ ณ วันที่ ๖ มกราคม ๒๕๕๕
วิทยาลัยเทคโนโลยีพระรามหก ได้ใช้มาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๕ เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา (๗ มาตรฐาน ๓๕ ตัวบ่งชี้) ตามหนังสือประกาศใช้ ที่ ศธ ๐๖๐๖/๕๑๘๒ วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๖๐ วิทยาลัยเทคโนโลยีพระรามหก ใช้มาตรฐานการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. ๒๕๕๙ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ณ วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๙ ประกอบด้วยมาตรฐาน ๔ ด้าน จำนวน ๑๔ ตัวบ่งชี้
พ.ศ. ๒๕๖๑ วิทยาลัยเทคโนโลยีพระรามหก ได้ยื่นคำขอต่อใบอนุญาตเป็นผู้ดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ และใช้ชื่อศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน วิทยาลัยเทคโนโลยีพระรามหก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อนุญาตให้ดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติสาขาอาชีพ ตามประกาศกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ตามหนังสือเลขที่ กทม ๐๐๑/๒๕๕๕ ออกให้ ณ วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ โดยใบ อนุญาตฉบับนี้อนุญาตให้ใช้ได้จนถึงวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๑ วิทยาลัยเทคโนโลยีพระรามหก ใช้มาตรฐานการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ ประกาศเมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒ วิทยาลัยเทคโนโลยีพระรามหก ได้ยื่นคำขอต่อใบอนุญาตเป็นผู้ดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ และใช้ชื่อศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน วิทยาลัยเทคโนโลยีพระรามหก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อนุญาตให้ดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติสาขาอาชีพ ใน 3 สาขาวิชาได้แก่ สาขาช่างซ่อมรถยนต์ สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร สาขาโทรคมนาคม(ไมโครเวฟและการสื่อสารดาวเทียม) ตามประกาศกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ตามหนังสือเลขที่ กทม ๐๐๑/๒๕๕๕ ออกให้ ณ วันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๖๓ โดยใบอนุญาตฉบับนี้ให้ใช้ได้จนถึงวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๓ วิทยาลัยเทคโนโลยีพระรามหก ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) จากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๔ วิทยาลัยเทคโนโลยีพระรามหก มีผลการรายงานการประกันคุณภาพภายนอก : ผลการประเมิน SAR ภายใต้สถานการณ์ COVID – ๑๙ ด้านการอาชีวศึกษา จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) สมศ. มีสรุปผลการประเมินอยู่ใน “ระดับดี” ทุกมาตรฐาน
พ.ศ. ๒๕๖๕ วิทยาลัยเทคโนโลยีพระรามหก ได้รับหนังสือรับรองการประกันคุณภาพภายนอก
(พ.ศ.๒๕๖๔-๒๕๖๘) ด้านการอาชีวศึกษา จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
พ.ศ. ๒๕๖๕ วิทยาลัยเทคโนโลยีพระรามหกได้รับโล่เชิดชูเกียรติองค์กรต้นแบบประสบความสำเร็จ ด้านการนำโปรแกรมระบบบริหารสถานศึกษา SISA Smart ในการจัดการข้อมูลทุกฝ่ายภายในองค์กรมากกว่า ๑๐ ปี จากบริษัทบริษัท ซีเอสเอ็น แอ็ดวานซ์ จำกัด
พ.ศ. ๒๕๖๕ วิทยาลัยเทคโนโลยีพระรามหก ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร และใช้ชื่อศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน วิทยาลัยเทคโนโลยีพระรามหก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อนุญาตให้ดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติสาขาอาชีพช่างเครื่องกล สาขาวิชาช่างซ่อมรถยนต์ ระดับ ๑ เลขที่ กท.๐๐๒๑.๓/๒๕๖๕ และสาขาอาชีพช่างไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ สาขาวิชา ช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ ๑ เลขที่ กท.๐๐๒๑.๑/๒๕๖๕ และสาขาโทรคมนาคม(ไมโครเวฟและการสื่อสารดาวเทียม) ระดับ ๑ เลขที่ กท.๐๐๒๑.๑/๒๕๖๕ ตามประกาศกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ออกให้ ณ วันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๕